นักลงทุนสัมพันธ์

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น

cac-logo

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น

นโยบายต่อต้านการให้สินบน และคอร์รัปชั่น

วัตถุประสงค์

บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทในเครือ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับตามมาตรฐานทางจริยธรรมสูงสุดตามที่ได้รวบรวมไว้ในเอกสารจรรยาบรรณและคุณธรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ

วัตถุประสงค์ของนโยบายต่อต้านการให้สินบนและคอร์รัปชั่นฉบับนี้ คือ การย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ตลอดจนคณะกรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ พนักงาน ที่ปรึกษา ตัวแทนของบริษัทฯ และผู้จัดจำหน่าย ในแนวทางการปฏิบัติให้สอดคล้องกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมถึงกฎหมายต่อต้านการให้สินบนหรือต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในท้องถิ่นที่อาจมีผลบังคับใช้ นอกเหนือจากนี้แล้วนโยบายฉบับนี้จะช่วยส่งเสริมจรรยาบรรณและคุณธรรมทางธุรกิจ และนโยบายของบริษัทฯ ในการดำเนินงานในภาพรวม

ขั้นตอนการดำเนินการตามนโยบาย CAC   |  นโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ขอบเขต

นโยบายฉบับนี้บังคับใช้กับพนักงานทุกคน ของบริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือรวมถึง คณะกรรมการผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ พนักงาน ที่ปรึกษา ตัวแทนของบริษัทฯ และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ โดยข้อกำหนดในนโยบายฉบับนี้จะบังคับใช้กับผู้จัดจำหน่ายที่มีสัญญากับบริษัทฯ นอกเหนือจากนี้แล้ว นโยบายฉบับนี้ยังมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริม กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติและนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ความหมาย

“การคอร์รัปชั่น”  หมายถึง การใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือการใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายมาเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ต่อองค์กร หรือผู้เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม

“การให้สินบน”  หมายถึง การเสนอจะให้หรือการให้เงิน ของขวัญ ผลประโยชน์อื่นที่เห็นสมควร หรือการจูงใจให้กับบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งมีอิทธิพล หรือมีอำนาจในการตัดสินใจ กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าการนั้นชอบหรือมิชอบก็ตาม
การให้สินบนและการคอร์รัปชั่น รวมถึงการยอมรับการได้มาซึ่ง
    • เงินสด ทรัพย์สิน หรือ สิ่งของอื่นๆที่มีมูลค่า
    • ผลประโยชน์ทางสังคม รวมถึงผลประโยชน์อื่นใด เช่น ค่าเดินทาง การต้อนรับ ค่าอำนวยความ      
       สะดวก และการช่วยเหลือในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มิใช่กรณีตามปกตินิยม

“ผู้จัดจำหน่าย”  หมายถึง บุคคลที่สามที่ขายหรือให้บริการและรับค่าสินค้าหรือค่าบริการที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ รวมถึงที่ปรึกษาและผู้รับเหมาช่วง

“ผู้บุคคลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ”  หมายถึง บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ตามกฎหมาย เช่น คู่สมรส บุตร ธิดา บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ของผู้บริหารและ พนักงานทุกระดับ  

“การขัดแย้งทางผลประโยชน์” หมายถึง การที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ส่วนตนจากการดำเนินการของ
บริษัทฯ ที่ขัดกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ

ข้อกำหนดของนโยบาย

ห้ามคณะกรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ พนักงาน ที่ปรึกษา และตัวแทนของบริษัทฯ เรียกร้อง เงิน ทรัพย์สินหรือ ผลประโยชน์อื่นใด หรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือกระทำการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก ไม่ว่าจะในฐานะผู้รับ หรือผู้ให้หรือ  ผู้เสนอจะให้สินบน และไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือผลประโยชน์อื่นใดแก่ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานเอกชน หรือพนักงานลูกจ้างของหน่วยงานเอกชนที่บริษัทดำเนินธุรกิจด้วย
    
นอกเหนือจากนี้ บริษัทฯ พึงจะให้มีการจดบันทึกจำนวนเงินและคำอธิบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการทำธุรกรรมไม่ว่ากรณีใด ๆ อย่างถูกต้อง พนักงานของบริษัทฯ ที่ดูแลเรื่องการเงินจะต้องมั่นใจว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของการทำธุรกรรมและวิธีการที่ได้อธิบายไว้ในสมุดบันทึกทางการเงินของบริษัทฯ ได้ถูกจัดทำและดำเนินการอย่างมีความถูกต้องเหมาะสม

บริษัทฯ มีจุดมุ่งหมายชัดเจนที่จะจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานการฝึกอบรมเกี่ยวกับ การตรวจสอบและประเมินทรัพย์สิน การตรวจสอบข้อเท็จจริงของการบันทึกการธุรกรรมและส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายนี้  ทางบริษัทฯ จึงจะได้กำหนดมาตรฐานและขั้นตอนสำหรับการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
•  การสนับสนุนการเมือง สำหรับหน่วยงานของรัฐ (ถ้ามี)
•  การบริจาคเพื่อการกุศลและเงินสนับสนุน สำหรับหน่วยงานของรัฐ (ถ้ามี)
•  การรับ หรือ ให้ของชวัญ การเลี้ยงรับรอง และค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ สำหรับ
    หน่วยงานของรัฐ (ถ้ามี)
•  การขัดแย้งผลประโยชน์ (ถ้ามี)
•  การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก สำหรับหน่วยงานของรัฐ (ถ้ามี)
•  การว่าจ้างพนักงานรัฐ (ถ้ามี)

โครงสร้าง


คณะกรรมการบริษัท
• มีหน้าที่ปฏิบัติตาม กำกับ ดูแล และสนับสนุน นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น และมอบหมายให้ฝ่ายบริหารนำมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

คณะกรรมการตรวจสอบ
• ทำหน้าที่ กำกับดูแลและสนับสนุนให้มีการดำเนินตามกระบวนการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้น  ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันความเสี่ยงจาการดำเนินงานให้เพียงพอและเหมาะสม

ผู้ตรวจสอบภายใน
• ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพและความเพียงพอของการควบคุมภายในโดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะทำงานการต่อต้านคอร์รัปชั่น
• คือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหาร ให้ทำหน้าที่ กำกับ ดูแลและสนับสนุนให้ กรรมการ
ผู้บริหาร พนักงานและหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการ
ทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนตรวจสอบและกำหนดมาตรการป้องกันความเสี่ยงจาการดำเนินงาน
ให้เพีบงพอและเหมาะสม

การตรวจสอบและมาตรการปฏิบัติ

จัดให้มีการตรวจสอบการทำงานในหน่วยงานของบริษัทฯ เป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อกำหนดต่าง ๆ ตามนโยบาย ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องจะได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง การตรวจสอบอาจจะเป็นการดำเนินการภายในโดยบริษัทฯ เอง หรือจะใช้ผู้ตรวจสอบจากภายนอกมาดำเนินการก็ได้ หากแต่เอกสารการตรวจสอบจะต้องมีแผนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยในกรณีที่พบจุดบกพร่องในการปฏิบัติงาน โดยการตรวจสอบดังกล่าวควรมีมาตรการดังต่อไปนี้

1. คณะกรรมการมอบหมายให้ฝ่ายบริหารนำมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปสื่อสารและปฏิบัติ
2. บริษัทฯ สื่อสารนโยบายและมาตรการต่อด้านคอร์รัปชั่นรวมถึงช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อ
     ร้องเรียนภายในบริษัทฯ ผ่านประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะทำงานการต่อต้านการทุจริต
     คอรัปชั่น เพื่อนำมาตรการไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
3. บริษัทฯ จัดให้มีระเบียบการเบิกจ่ายโดยกำหนดวงเงิน ตารางอำนาจอนุมัติ วัตถุประสงค์และ
     ผู้รับ ซึ่งต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนประกอบ เพื่อให้มั่นใจว่าการการเลี้ยงรับรอง การบริจาค
     การกุศลเงินสนับสนุน ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก และค่า
     ใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นไปตามนโยบาย โดยกระบวนการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบภายใน
4. บริษัทฯ จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบงานขายและการตลาด รวมถึงงานจัดซื้อและทำสัญญา
     เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายและ
     ระเบียบจัดซื้อฯ โดยผู้ตรวจสอบภายใน จะให้ความเห็นและติดตามวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม
5. บริษัทฯ จัดให้มีกระบวนการบริหารบุคลากรที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ต่อมาตรการ
     ต่อต้านคอร์รัปชั่น ตั้งแต่การคัดเลือก การอบรม การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน และ
     การเลื่อนตำแหน่ง
6. บริษัทฯ จัดให้มีการควบคุมภายในครอบคลุมทั้งด้านการเงิน การบัญชี การเก็บบันทึกข้อมูล
     รวมถึงกระบวนการอื่นภายในบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น
7. บริษัทฯ จัดให้มีการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
8. บริษัทฯ จัดให้มีการตรวจสอบภายในเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในและการ
     บริหารความเสี่ยงที่กำหนดขึ้นช่วยให้บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ รวมทั้งตรวจสอบ
     การปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด กฎระเบียบ และช่วยค้นหาข้อ
     บกพร่องจุดอ่อน รวมถึงให้คำแนะนำในการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและ
     ประสิทธิผลตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี
9. บริษัทฯ จัดให้มาตรการปฏิบัตินี้ได้รับการจัดทำเป็นเอกสารตามหลักการควบคุมภายในเพื่อให้
     สอดคล้องตามนโยบาย และระเบียบของบริษัทฯ

ความเกี่ยวพันกับนโยบาย
อื่นๆ

นโยบายอื่นของบริษัทหากได้รับผลกระทบเมื่อนำไปปฏิบัติ ควรมีการตีความเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายฉบับนี้ รวมถึงหลักปฏิบัติที่ระบุในจรรยาบรรณและคุณธรรมทางธุรกิจ  รวมถึงกระบวนการยกระดับจรรยาบรรณและคุณธรรมทางธุรกิจ และ ขั้นตอนการดำเนินการตามนโยบายต่อต้านการให้สินบนและคอร์รัปชั่น

 

การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีมาตรการในการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนการกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ หรือพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ของบุคคลในองค์กร ทั้งจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น รวมถึงรายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง หรือระบบควบคุมภายในที่บกพร่อง และกลไกในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลผลประโยชน์ของบริษัทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เรื่องที่รับแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียน
• การกระทำผิดกฎหมาย ระเบียบบริษัทฯ การทุจริตหรือทำผิดจรรยาบรรณของกรรมการ ผู้บริหาร
   และพนักงาน
• ความผิดปกติของรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายในที่บกพร่อง
• เรื่องที่มีผลกระทบต่อประโยชน์ หรือชื่อเสียงของบริษัทฯ

ช่องทางแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
• กล่องรับเรื่องร้องเรียน : ภายในองค์กร ของทุกสาขา
• จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ E-Mail Address :
    - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 
        E-Mail : bundit@unimit.com
    - เลขานุการบริษัท:
        E-Mail : cac@unimit.com
• จดหมายธรรมดา :
     - จ่าหน้าถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
        บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
        สำนักงานพระประแดง ที่อยู่ 109/92-95 หมู่ 19 ซอยสุขสวัสดิ์ 66 ถนนสุขสวัสดิ์ ต. บางพึ่ง
        อ. พระประแดง จ. สมุทรปราการ 10130 

กลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส
• จัดทำระบบฐานข้อมูลเก็บความลับของข้อมูลผู้แจ้งเบาะแส และกำหนดบทลงโทษ สำหรับเจ้าหน้าที่
    ผู้รับผิดชอบข้อมูลดังกล่าวเมื่อข้อมูลถูกเปิดเผย

การสอบถามหรือเสนอแนะ
หากมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น และคำแนะนำในการปฏิบัติตาม
มาตรการต่อต้านคอรัปชั่น สามารถติดต่อได้ที่ 
(คณะทำงานการต่อต้านคอร์รัปชั่น) บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) 
เลขานุการบริษัท : e-mail : cac@unimit.com  เบอร์โทร 02 4630100 ต่อ 26

ระเบียบวินัย และบทลงโทษ

กรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ พนักงาน ที่ปรึกษา และตัวแทนของบริษัทฯ ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของนโยบายฉบับนี้จะต้องถูกลงโทษทางวินัยและหากมีท่านใดที่รู้เห็นการกระทำใด ๆ ที่ขัดกับนโยบายฉบับนี้แต่ไม่รายงานต่อผู้บริหารของบริษัทฯ จะมีความผิดและต้องถูกลงโทษทางวินัย และเช่นเดียวกันหากท่านใดจงใจปกปิด หรือ ขัดขวางการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบจะถูกลงโทษทางวินัยและอาจรวมถึงการถูกเลิกจ้างงานด้วย

บุคคลที่มีความมุ่งมั่นปฎิบัติตามมาตรการการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น และผู้แจ้งเบาะแส จะมีการคัดเลือก ประเมินผลงาน ให้ผลตอบแทน ตลอดจนการเลื่อนตําแหน่งของพนักงานจะได้รับพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ

บริษัทจะไม่ลดตำแหน่ง หรือลงโทษ ต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอรัปชั่นแม้ว่าการกระทำนั้น จะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ

ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบจากภายนอกได้ละเลยการตรวจสอบตามข้อกำหนดของนโยบายฉบับนี้และไม่รายงานต่อผู้บริหารของบริษัทฯ  ทางบริษัทฯ มีความชอบธรรมที่จะพิจารณายกเลิกสัญญาของผู้ตรวจสอบนั้นได้

การทบทวนนโยบายและแนวทางปฏิบัติฉบับนี้

นโยบายและแนวทางปฏิบัติฉบับนี้จะต้องได้รับการทบทวนจากฝ่ายงานที่มีหน้าที่กำกับการปฏิบัติงาน
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ

ช่องทางการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และ
การอบรม

บริษัทจัดให้มีช่องทางการสื่อสารนโยบาย การประชาสัมพันธ์ ได้แก่ เวปไซค์บริษัท จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-mail  และ บอร์ดประชาสัมพันธ์

โดยจัดให้มีการอบรม กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ โดยเฉพาะพนักงานที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มีความเสี่ยงกับการคอรัปชั่น

ข้อมูลอ้างอิง

สำหรับอ้างอิง: สามารถดูรายละเอียด NACC สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ที่: https://www.nacc.go.th